Shark ไม่เข้าใจ
3 พ.ย. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
ยุค 4G 5G 6G จะกี่ G ก็ตามแต่ หรือแปลง่ายๆ ว่ายุคอนาคตที่ลูกๆ เรากำลังเติบโตไปสู่นั้น รูปแบบการเรียนรู้ แนวคิดเรื่องการศึกษาที่ทันยุค ทันสมัยมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน แล้วการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นหน้าที่ใครกันที่จะต้องคอยดูแลให้กับลูกๆ ของเรา ถ้าไม่ใช่พวกเราที่เป็นพ่อแม่ของเค้า
22 มิ.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
พ่อครับ เรามาทำน้ำมะนาวขายกันไหมครับ เมื่อคุณได้ยินคำพูดนี้ คุณรู้สึกอย่างไรบ้างครับ แน่นอนที่จะต้องเกิดความสงสัย ความข้องใจ ข้อควรระวังมากมาย ระคณอยู่กับความภูมิใจ ลูกเราคิดได้ เอหรือว่าลูกเราจะแค่ทักขึ้นมาเล่นๆ กันนะ
22 มิ.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
"แม่ครับ ผมเรียนอะไรต่อดีครับ" คำถามนี้ คุณแม่หลายคนอาจจะมีคำตอบในใจอยู่แล้วว่าอยากให้ลูกของตัวเองนั้นประกอบอาชีพอะไร และอีกหลายคนก็อยากจะให้อิสระลูกของตัวเอง ให้มีโอกาสได้คิด ให้มีโอกาสได้เลือก เพราะการได้เลือกนั้น คือการฝึกทักษะสมองที่สำคัญ นำมาซึ่งความรับผิดชอบในตัวเอง รับผิดชอบในความคิด แต่หากคุณพ่อคุณแม่ไปคัดเลือกหรือตัดสินให้นั้น กลับกลายเป็นการปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาสมองของลูกมากกว่า
22 มิ.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
"ลูกดื้อจังเลยค่ะ ทำอย่างไรดี" "ลูกไม่เชื่อฟังเลยไม่รู้จะจัดการอย่างไรแล้ว" จากเสียงที่ได้ยินมาแบบนี้ก็เลยขอยกเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง เมื่อปลายปีที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปดูงานการเรียนการสอนของโรงเรียนที่ประเทศฟินแลนด์ ได้พบมุมนึงที่อยากจะมานำเสนอถึงเรื่องของการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดแนวคิด เกิดจินตนาการ สร้างความมั่นใจในตัวเอง และที่สำคัญสร้างนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในส่วนนี้การเรียนรู้ตรงนี้ ไม่ใช่แค่เด็กที่ต้องเรียน คนที่สำคัญอีกคนนั่นก็คือพ่อแม่
22 มิ.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
ในยุคดิจิทัลแบบนี้ การเรียนในห้องเรียนอาจจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นของเด็กๆอีกต่อไป แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเราพร้อมหรือยังที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของเราให้กลายมาเป็น Homeschool หลากหลายเวบไซต์มีแนวทาง หรือขั้นตอนในการทำโฮมสคูลมากมาย สำหรับทางจีเนียสสคูลของเรา ก็มีแนวคิดที่ใช้ในการทำความเข้าใจกับผู้ปกครองที่จะช่วยให้ตัดสินใจในการทำhomeschool มากขึ้น
22 มิ.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
ตั้งใจเรียนให้จบปริญญา จะได้มีงานมีการทำกันนะลูก ประโยคจากพ่อแม่รุ่นก่อนที่ตอนนี้เลื่อนขั้นเป็น คุณตา คุณยายกันแล้ว ก่อนนี้ การจบปริญญาตรีคือเรื่องยิ่งใหญ่ คือเป้าหมาย คือปลายทางของเด็กทุกคนที่เติบโตขึ้น เพื่ออะไรน่ะหรือ เพราะมันคือหลักฐานที่จะช่วยให้เด็กคนนั้นเติบโตไปแล้วสามารถมีอาชีพการงานที่มั่นคงได้ และเรื่องทั้งหมดนี้กำลังจะกลายเป็นอดีต เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การที่ทุกคนเติบโตและร่ำเรียนมา เคยสังเกตไหมว่า ก่อนนี้ ให้จบปริญญาตรีก็สามารถเริ่มทำงานดีๆ มีตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่มาถึงยุคนี้ หลายคนจบ ป.ตรีไม่พอ แต่มันต้องต่อปริญญาโทเข้ามาอีก เพิ่มเติมเข้ามามากขึ้น เรียนเพิ่มขึ้น ใช้เวลานานขึ้น ความน่าเศร้าก็คือ ความรู้เหล่านั้น ได้เอาออกมาใช้จริงสักเท่าไร
22 มิ.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
เราได้ยินคำพูดแบบนี้กันมาหลายครั้งว่า เด็กๆ ยังไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องเงิน ยังเด็กอยู่เลย แค่เรียนหนังสือก็พอ ความเชื่อแบบนี้ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนในปี 2562 สูงมาก เฉลี่ยถึง 3แสนกว่าบาท ต่อ 1 ครัวเรือน
15 พ.ค. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
ในวิกฤตโควิด ทำให้มีผลกระทบกับเด็กนักเรียนทั่วทั้งโลก ไม่ใช่แค่เพียงในประเทศไทย นักเรียนต้องหยุดเรียน ไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ ทำให้ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง และโรงเรียนเอง ลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน ให้เข้ากับยุคศตวรรษที่ 21 ทั้งที่เรามีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงนี้มาซักระยะแล้ว แต่วิกฤตนี้ เป็นตัวเร่ง ให้พ่อแม นักเรียนและโรงเรียน เกิดการตะหนักมากขึ้น
15 พ.ค. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
การเป็นเจ้าของธุรกิจ คนส่วนมากคิดว่า จะต้องรอเรียนจบระดับมหาวิทยาลัยก่อน หรือต้องรอให้โตเป็นผู้ใหญ่ก่อน เรียนจบแล้ว ก็ไปทำงานเก็บเกี่ยวประสบการณ์ก่อน ถึงจะเริ่มมาทำธุรกิจของตัวเองได้ คำพูดเหล่านี้ อาจจะเป็นจริงในยุคสมัยหนึ่งเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ วัยรุ่นไทยก็สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว เช่นกัน ถึงแม้จะยังอยู่ในวัยเรียนก็ตาม
15 พ.ค. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
เราเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 มา 20 ปีแล้ว โลกยุคใหม่ ยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคแห่ง internet ยุคแห่งการไร้พรมแดน ยุคแห่งการสื่อสาร ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ยุคแห่งเทคโนโลยี ยุคแห่ง AI อีกมากมายหลายชื่อ มีนักวิชาการมากมายออกมาพยายามหาคำจำกัดความของยุคนี้ไว้อย่างมากมาย
15 พ.ค. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
การที่ฟินแลนด์ มีโรงเรียนที่มีคุณภาพสูง เกิดจากการที่ ประเทศฟินแลนด์ ให้ความสำคัญกับ "คน" มากที่สุด โดยมีคำกล่าวที่ว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในฟินแลนด์ คือ คน ดังนั้น ทุกคนในฟินแลนด์ มีสิทธิ ที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ที่จะ "ดึงศักยภาพของทุกคนออกมามากที่สุด ให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่ตัวเองอยากเป็น"
15 พ.ค. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
โรงเรียนทางเลือก คือโรงเรียนที่มีระบบการศึกษาแบบเปิดให้มีความยืดหยุ่น ทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผล โดยสอนตามแนวทาง ที่ไม่ใช่การเขียนอ่าน หรือท่องจำ แต่เน้นการพัฒนา ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และเน้นพัฒนา ความสามารถเฉพาะตัวของเด็ก โดยมีการสอนเป็นกลุ่มเล็กๆ เน้นให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ มีความเป็นตัวของตัวเอง
15 พ.ค. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
Montessori Method หรือหลักการสอนแบบมอนเตสซอรี ถูกคิดค้นมาจากปรัชญาว่า จิตที่เกิดมาพร้อมกับเด็ก ได้กำหนดลักษณะนิสัยของเด็กมาก่อน แต่สภาพแวดล้อมที่ดีที่เหมาะกับการเรียนสำหรับเด็กนั้น จะช่วยส่งเสริมสิ่งที่เด็กมีอยู่ในตัว โดยเฉพาะการศึกษาในระยะเริ่มต้นของเด็กควรได้รับการปลูกฝังให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ และความต้องการของเขา ไม่ใช่การปลูกฝัง "สิ่งที่ผู้ใหญ่อยากให้เด็กเป็น"
15 พ.ค. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
การเป็นนักธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องพึ่งใบปริญญา ไม่จำกัดอายุ เพศ และวัย ไม่ต้องระบุว่า ชาติกำเนิดจะต้องร่ำรวย พ่อแม่ต้องมีฐานะ แต่การจะเป็นนักธุรกิจ เกิดขึ้นได้จากความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ฟังแบบนี้แล้ว หลายคนคงคิดว่า ใช่ซิ จะประสบความสำเร็จได้ คงต้องใช้เวลาทั้งชีวิต จะเป็น CEO ที่สำเร็จได้ด้วยอายุเท่าไหร่ วันนี้ เราจะพาทุกคนมารู้จัก 4 CEO ที่อายุน้อยที่สุดในโลก ที่จะสร้างความประทับใจ และสร้าง inspriration ให้กับคุณ
27 เม.ย. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
ในยุคที่เรามีมือถือซูมไปไกลถึงดวงจันทร์ มีดาวเทียมที่เห็นหลังคาบ้านตัวเองได้ อยากรู้อะไรก็แค่คลิก คำตอบมาไม่เกิน 3 วินาที และ การรอโหลดอะไรเกิน 5 วินาทีถือว่า เนตกาก! ยิ่งเด็กเล็กๆ ที่เกิดมาพร้อมกับ 4G ประมูลกันเสร็จแล้ว มือถือคืออวัยวะที่ 38 ของทุกคนรวมไปถึงเด็ก เราจะหวังให้เด็กสนใจนั่งอยู่ในคอกสี่เหลี่ยมของโต๊ะนักเรียน ในห้องเรียนแคบๆ ที่มีคุณครูคนหนึ่งคอยเขียนตัวหนังสือเต็มไปหมดบนกระดานกับหนังสือเรียนด้วยความกระตือร้นตลอด 8 ชั่วโมงโดยไม่เบื่อ จะเป็นไปอย่างไร?
14 เม.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
“สมัยนี้ เรียนอะไรดีเพื่อให้มีงานทำ” ความจริงก็คือ ไม่ว่าอาชีพไหนก็มีโอกาสตกงาน! ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบปั่นป่วนไปทั้งโลก (disrupted) ไม่ว่าอาชีพไหนก็มีสิทธิ์ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ตัวอย่างจากภัยพิบัติจากโรคระบาดเดียว สร้างความเดือดร้อนไปทั้งโลกได้
14 เม.ย. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
เป็นครูสมัยนี้ยากกว่า ครูสมัยก่อนจริงหรือเปล่า เป็นเพราะเด็กยุคนี้ดื้อกว่าเด็กยุคก่อนจริงหรือไม่ ขึ้นชื่อว่าเด็กกับการเรียน น่าจะเป็นทุกสมัย ถ้าไม่ต้องถูกบังคับมาให้มาโรงเรียน เชื่อว่า เด็กๆ ทุกคนชอบที่ไปเล่นกับเพื่อน หรือทำอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่มาเรียน แต่ในอดีต เด็กๆ ไม่มีทางเลือกมากนัก ถึงไม่อยากมาเรียนก็จำใจมา เพราะถ้าไม่เข้าเรียนจะไม่มีความรู้ ทำข้อสอบไม่ได้ สอบตกขึ้นมา โดนพ่อแม่ตีอีก ในขณะที่เด็กสมัยนี้ ถึงไม่เข้าห้องเรียนก็ใช่ว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ อยากจะดูบทเรียนไหน ข้อสอบปีไหน วิชาอะไรหาดูได้ง่ายมาก เด็กบางคนสามารถเรียนเองล่วงหน้าไม่ต้องรอครูก็ยังได้
14 เม.ย. 2563 โดย นุกูล ลักขณานุกุล
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากไม่ถึง 100 แห่งทั่วประเทศเป็นเกือบ 200 แห่ง ในอดีตโรงเรียนนานาชาติมักจะอยู่ในเขตที่มีชาวต่างชาติอยู่หนาแน่น แต่ในปัจจุบันโรงเรียนนานาชาติขยายออกไปในเกือบทุกเขตในกรุงเทพฯ และขยายไปถึงจังหวัดต่างๆ ทุกภาคของประเทศ แสดงถึงกระแสความต้องการให้บุตรหลานได้เรียนในโรงเรียนนานาชาติมีเพิ่มขึ้นสูงมาก
10 เม.ย. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ
เราชอบถามกันว่า เด็กคนไหนเป็นเด็กเกรด 4.0? เด็กคนไหนเป็นเด็กเรียนดี? เด็กคนไหนเป็นเด็กเรียนเก่ง? เด็กคนไหนอยู่ห้องคิง?
7 เม.ย. 2563 โดย พัสชนันท์ คงวณิชกิจเจริญ